วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

มะหวด


มะหวด

มะหวด วงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisanthes rubiginosaชื่ออื่น กะซ่ำ มะหวด (ภาคกลาง) กำจำ (ภาคใต้) นำซำ มะจำ (ภาคใต้) หวดคา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สีฮอกน้อย (ภาคเหนือ)


มะหวด หรือ LEPISANTHES RUBIGINO-SA (ROXB.) LEENH อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบประกอบขนนก ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ดอก เป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีขาว "ผล" รูปไข่ สุกเป็นสีม่วงดำ ขนาดผลเล็กกว่าลูกหว้า มี 1 เมล็ด รสชาติหวานปนฝาด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มี 2 ชนิด คือ ชนิดใบรียาว กับชนิดใบรีป้อม



ไม้ต้นนี้ พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย ในอดีตตอนขึ้นเขาเข้าป่าจะพบเห็นมากมายจนชินตาพอๆกับต้นหว้า โดยเฉพาะในช่วงติดผลเป็นพวง ผลสุกเป็นสีม่วงเกือบดำดูสวยงามมาก รสชาติหวานปนฝาดเล็กน้อยอร่อยดี คนเดินป่านิยมเก็บเอาผลแบบหักทั้งกิ่งใส่ตะกร้าไปวางขายในตลาดตัวเมือง มีผู้ซื้อไปรับประทานอย่างกว้างขวาง และยังชอบปลูกไว้ตามหัวไร่ ปลายนา เนื่องจากต้น "มะหวด" มีอายุยืนยาว ลำต้นแข็งแรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างใบดก และหนาทึบให้ร่มเงาดี ชาวนานิยมนำเอาควายที่เลี้ยงไว้ไถนาไปผูกใต้โคนต้น "มะหวด"ให้เดินเล็มหญ้าเย็นสบายดี  



มะหวด นอกจากจะมีผลกินได้และให้ร่มเงาดีแล้ว บางส่วนของต้นยังสามารถเอาไปใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคได้หลายอย่างอีกด้วย โดย ในตำรายาแผนไทยโบราณระบุว่า ราก ของ "มะหวด" เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษฝีภายใน (ต้มดื่ม) ตำพอกศีรษะแก้ไข้ ปวดศีรษะ และพอกรักษาโรคผิวหนังผื่นคัน เมล็ดกินแก้โรคไอหอบ ไข้ซางเด็ก ไอกรน ผลบำรุงกำลัง ราก นำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นต้มน้ำดื่มแก้ซาง (โรคของเด็กเล็ก มีอาการเบื่ออาหาร ซึม มีเม็ดขึ้นในปาก และคอ ลิ้นเป็นฝ้า) ตำรายาพื้นบ้านใช้ใบรองพื้น และคลุมข้าวสำหรับทำขนมจีนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบูดหรือเสียได้ 

ที่มา :  http://navithaifruit.blogspot.com/2010/10/blog-post_3867.html
           http://www.infoforthai.com/forum/topic/4906



 http://www.touristcheckin.com

 http://www.prakunrod.com/default.aspx?aid=8448
 http://www.azaythai.com/064
http://www.thaibestjobs.com/affiliate/1375


วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

ต้นลูกยอ

ต้นยอ

ยอ

ชื่ออื่นๆ :มะตาเสือ  ยอ  แยใหญ่
ชื่อสามัญ :Noni, Indian mulberry, Noni Indian mulberry, Great morinda, Mengkudu (Malay), Nonu/Nono (Pacific Islands)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Morinda citrifolia L.
วงศ์ :Rubiaceae
ถิ่นกำเนิด :อินเดีย ถึงตอนใต้ของจีน
ลักษณะทั่วไป :ไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งก้านจำนวนมาก
ฤดูการออกดอก :ติดดอกออกผลตลอดปี
การขยายพันธุ์ :
การเพาะเมล็ดแก่ เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากมีเมล็ดจำนวนมาก
ข้อดีของพันธุ์ไม้ :
ใช้เป็นอาหารและสมุนไพรรักษาโรค
ข้อแนะนำ :
การเก็บลูกยอควรเก็บเมื่อผลเริ่มแก่ (เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองอ่อน)
การเก็บผลเพื่อเอาเมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์ ควรเก็บเมื่อผลเปลี่ยนจากสีเหลืองมาเป็นสีขาว
ข้อมูลอื่นๆ :
ใบ มีวิตามินเอ 40,000 ยูนิตสากลต่อ 100 กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ
+ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า  สระผมฆ่าเหา แก้กระษัย
+ ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง
+ ใช้ใบอ่อนรองก้นในห่อหมก ใช้แกงอ่อมกับปลาดุก อร่อยมากครับ ผู้รวบรวมเคยกินมาตั้งแต่เด็ก
ราก ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น
ผล โตเต็มที่แต่ไม่สุก จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน  ผลดิบ ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
นำผลยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (10-15 กรัม) ต้มหรือชงกับน้ำ เอาน้ำที่จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียว

สารเคมี : ผลยอมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose
การทำน้ำลูกยอ
1. นำลูกยอสุกห่ามๆ มาล้างน้ำให้สะอาด แคะเอาเม็ดออก ปั่นแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผลไม้เข้มข้นชนิดอื่น เช่น น้ำสับปะรด หรือน้ำมะเขือเทศ เพื่อลดกลิ่นของลูกยอและเพิ่มรสชาติดีขึ้น แต่ถ้าต้องการรสหวานเล็กน้อย ให้นำน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่นพอประมาณแล้วนำไปผสมกับน้ำลูกยอที่คั้นได้ตามต้องการ
2. ปัจจุบันนิยมนำลูกยอมาปั่นเป็นน้ำลูกยอคั้นสด เพราะเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด อีกทั้งสารสำคัญในลูกยอยังมีความคงตัวอยู่เช่นเดียวกับวิธีอื่นๆ แต่ปัญหาจะอยู่ที่รสฝาดและกลิ่นฉุน อาจดื่มได้ลำบาก การนำน้ำลูกยอที่คั้นได้ผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น น้ำองุ่น น้ำบลูเบอรี่ น้ำสับปะรด น้ำฝรั่ง โดยใช้น้ำลูกยอ 9 ส่วน น้ำผลไม้อื่นๆ 1 ส่วนจะช่วยให้กลิ่นและรสชาติของน้ำลูกยอดีขึ้น

คุณค่าของน้ำลูกยอ
หากดื่มน้ำลูกยอคั้นสดเป็นประจำ จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทน รักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้นอนหลับเป็นปกติ มีฤทธิ์ต้านทานโรคมะเร็งและระงับการเติบโตของเซลล์มะเร็งเนื้องอก ผลข้างเคียงจากการดื่มน้ำลูกยอคั้นสดพบน้อยมาก บางคนอาจเกิดอาการท้องอืด หรือระบายท้องในครั้งแรกซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปได้โดยลดขนาดการรับประทานลง




ข้อควรระวัง
น้ำลูกยอนั้นมีธาตุโปแตสเซียมสูงมากเช่นเดียวกับน้ำมะเขือเทศ ผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังจึงไม่ควรรับประทาน เพราะอาจเกิดอันตรายได้
ที่มา :  http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/resource/60-herb/381-morinda
           http://www.charpa.co.th/articles/noni.asp

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

ดอกบานไม่รู้โรย


ดอกบานไม่รู้โรย

ชื่อวิทยาศาสตร์            Gomphrena globosa Linn.

วงศ์                           AMARANTHACEAE


ชื่อสามัญ                   Bachalor's Button,Button Agaga,Globe Amaranth,Pearly Everlasting
ชื่ออื่นๆ
                 กะล่อม ตะล่อม (ภาคเหนือ) ดอกสามเดือน กุนหยี (ภาคใต้)

 


ลักษณะทั่วไป
บานไม่รู้โรยเป็นไม้ที่กำเนิดอยู่ในแถบร้อนของทวีปเอเชีย ทนต่อความร้อนความแห้งแล้งได้ดี เป็นไม้ล้มลุก ทรงพุ่มสูงประมาณ 100-150 ซ.ม ออกดอกเดี่ยวขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ3/4นิ้ว กลีบดอกแข็งเล็กจัดเรียงตัวรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น มีสีชมพู ขาว ม่วงอมฟ้า และส้ม ดอกใช้ประโยชน์ได้ทั้งสดและแห้ง


การปลูก
เนื่องจากบานไม่รู้โรย เป็นดอกไม้ที่ปลูกง่ายและไม้ต้องการพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์มากนักหรือปลูกในดินชนิดใดก็งอกแต่ทั้งนี้ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีลงไปในดินบ้าง เพื่อการเจริญเติบโตและดอกจะได้มีคุณภาพดีดียิ่งขึ้นการเก็บดอกมาทำแห้งไม่ควรเก็บช้าเกินไป เพราะดอกจะไม่ได้ขนาดและสีซีด การตัดก็ควรให้มีก้านดอกติดไปด้วยยาวประมาณ5-12 นิ้ว ลิดใบออก มัดรวมกันไว้ในที่ร่ม

การขยายพันธุ์
นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งง่าย สะดวก รวดเร็ว การเพาะควรนำเมล็ดมาแช่น้ำประมาณ 3-4 ชม.แล้วนำไปเพาะในกระบะ กลบด้วยวัสดุเพาะ จากนั้นประมาณ 8-10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นเริ่มต้นอ่อน

โรคและแมลง
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ใบและต้น ได้แก่ โรคใบจุดและโรคแอนแทรกโนส โรคทั้งสองชนิดเกิดจากเชื้อราและระบาดในช่วงฤดูฝนฉะนั้นผู้ปลูกควรฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราไว้ก่อนเป็นครั้งคราว

http://www.thaibestjobs.com/affiliate/1375



http://www.siambodycare.com?acc=9be40cee5b0eee1462c82c 6964087ff9

http://silkspan.com/silkspan_ssl/credit/detail_cc_kbank_thaiair.asp?typedealer=touristcheckin&banner=

ดอกพุดซ้อน (ดอกเกล็ดถวา (คำเมือง))

ดอกพุดซ้อน

พุดซ้อน ถิ่นเดิมของพุดซ้อนเข้าใจว่าอยู่ในประเทศจีน และเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับเข็มพวงขาว กระทุ่ม และกาแฟ มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ เคตถวา พุดจีน และพุดใหญ่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม. กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี

การปลูกเลี้ยง
พุดซ้อน เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

ประโยชน์
นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม ส่วนดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง

มีบทโครงที่กล่าวถึง พุดซ้อน ในวรรณคดีดังนี้ 

ช่อตะแบกสัตตบุษย์พุดซ้อน
จำปีมลุลีมะลิลา
กลิ่นขจรฟุ้งจับนาสา
พิกุลกรรณิการ์สารภี
(รามเกียรติ์ - พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1)
เจ้าโมรากรีดเล็บเก็บจำปี
ให้ประภาวดีศรีสมร
เจ้าวิเชียรเก็บกระถินกลิ่นขจร
กับพุดซ้อนตามส่งให้จงกล
(พระอภัยมณี - สุนทรภู่)


ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99

 http://www.touristcheckin.com

 http://www.prakunrod.com/default.aspx?aid=8448

 http://www.azaythai.com/064
 http://www.thaibestjobs.com/affiliate/1375



 http://www.silkspan.com/carinsurance/default_plus.asp?typedealer=touristcheckin&banner=



http://www.siambodycare.com?acc=9be40cee5b0eee1462c82c 6964087ff9

ดอกดาวเรือง


ดอกดาวเรือง

ชื่อดอกไม้

ดอกดาวเรือง

ชื่อสามัญ

Marigold

ชื่อวิทยาศาสตร์

Tagetes erecta Linn.

วงศ์

COMPOSITAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

ดาวเรืองเป็นไม้ล้มลุกทรงพุ่มอายุสั้นหรือหลายปี มีความสูงตั้งแต่ 30–60 ซม. ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ออกตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปรีหรือรูปหอกแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวกระจุกอยู่ปลายยอด สีเหลืองหรือสีส้ม กลีบดอกวงนอกมีลักษณะเป็นรูปรางน้ำ โคนดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายดอกเป็นรอยหยัก กลิ่นหอมฉุน

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดี แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา



 http://www.touristcheckin.com

 http://www.prakunrod.com/default.aspx?aid=8448

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

จามจุรี (ฉำฉา) , ก้ามปู














จามจุรี ก้ามปู ฉำฉา
 
 
จามจุรี ก้ามปู ฉำฉา
Albizia saman f. Muell.

ได้นำมาปลูกที่เมืองไทยครั้งแรกที่เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2443 โดยนายเอช สเลด เจ้ากรมป่าไม้คนแรกของไทย ต้นใช้เลี้ยงครั่ง เนื้อไม้ลายสวยใช้สำหรับงานแกะสลัก ใบหมักทำปุ๋ย ทนน้ำท่วมขังและมลพิษ กิ่งเปราะหักง่าย ฝักมีน้ำยางเหนียว รากแข็งแรง งัดพื้นให้เสียหายได้

ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อนไปถึงบราซิล
ลักษณะ ไม้ต้น สูง 15-30 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่ม กิ่งอ่อนมีขนสั้น
ใบ ใบประกอบ ใบรูปรีหรือไข่ สีเขียวเข้มปนมัน ใต้ใบสีเขียวนวลและมีขน
ดอก ออกเป็นช่อบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่งดอกเล็ก มี 5 กลีบ เกสรจานวนมาก สีชมพู ฟูอยู่ กลางดอกออกดอกพร้อม ๆ กันทั้งต้น
ฤดูออกดอก สิงหาคม - กุมภาพันธ์ กลิ่นหอมอ่อน ๆ
สภาพปลูก ดินทั่วไป แสงแดดจัด ทนน้ำท่วมขังและมลพิษ
ขยายพันธ์ เพาะเมล็ด


คู่มือคนรักต้นไม้ ไม้ดอกหอมสีชมพู วชิรพงศ์ หวลบุตตา.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บ้านและสวน, 2543.96 หน้า. ภาพประกอบ (สี ). (คู่มือคนรักต้นไม้ 2 )



ที่มา  :  http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-5107.html

ภาพจาก :  http://www.chuan-chom.com/webboard/index.php?topic=69.0



 http://www.touristcheckin.com

 http://www.prakunrod.com/default.aspx?aid=8448