วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู


ชื่อสามัญ :          Bird Chilliชื่อวิทยาศาสตร์ :    Capsicum frutescens Linn.
วงศ์ :                    SOLANACEAE
ชื่ออื่น ๆ :                พริกแด้, พริกแต้, พริกนก, พริกแจว, พริกน้ำเมี่ยง (เหนือ-พายัพ), พริก, พริกชี้ฟ้า,พริกขี้หนู (ภาคกลาง-
                                        เหนือ), ดีปลี (ใต้-ปัตตานี), ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก, ใต้ (ภาคใต้), ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว), มะระตี้
                              (สุรินทร์), ล่าเจียว (จีนกลาง), หมักเพ็ด (อีสาน)


ลักษณะทั่วไป :
ต้น :   เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม.

ใบ :    เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม

ดอก : จะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง

ผล :   ผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

การขยายพันธุ์ :  โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ :
ผล     ใช้ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดยการใช้พริกสด 1
เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้ง หรือสารละลาย
แอลกอฮอล์ใช้ทา

อื่น ๆ พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อย
ทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้ม
จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อน
เป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ
หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาเขตร้อน


ข้อมูลทางคลีนิค :
คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย   

Cal Moist ure Protein Fat CHO Fibre Ash . Ca P Fe  A.I.U B1  B2 Niacin C
Unit % Gm. Gm. Gm. Gm. Gm mg. mg. mg. mg. mg. mg. mg.
พริกขี้หนู 54 81.9 3.4 1.4 7.1 5.2 0.9 4 14 12 2417 0.29 0.11 1.5 44



ความลับของพริกขี้หนู

-  แก้ปวดหัว ปวดหัวเนื่องมาจากไข้หวัด หรือตััวร้อน ใช้ใบพริกขี้ หนูสดๆ ตำกับดินสอพองปิดขมับ
-  แก้เจ็บคอเสียงแหบใช้น้ำต้มหรือยาชงพริกขี้หนูกลัวคอแก้เจ็บคอและเสียงแหบได้โดยใช้พริกขี้หนูป่น๑หยิบมือ 
      เติมน้ำเดือดลง ไป ๑ แก้ว ทิ้งไว้พออุ่น ใช้น้ำกลัวคอ
-  ช่วยขับลม  แก้อาหารไม่ย่อย เจริญอาหาร โดยกินพริกขี้หนูสวน รักษากระเพาะที่ไม่มีกำลังย่อยอาหาร
-  แก้ปลาดุกยักใช้พริกขี้หนูสดเขียวหรือแดงก็ได้ ขยี้ตรงที่ปลาดุก แทงจะหายปวด ขยี้แล้วจะรู้สึกเย็น(ธรรมดาพริกขี้หนูร้อน) ไม่บวม
      ไม่ฟกช้ำด้วย
-  แก้เท้าแตกใช้พริกขี้หนูทั้ง ๕ ปูนขาว สื่งละพอควร เอาไปต้ม เอาน้ำมาแช่เท้าที่แตก ถ้าไม่หายเอาต้นสลัดได รากหนอนตากยาก
     ใส่ลงไปด้วย
แก้บวม  ใบพริกขี้หนู บดผสมนำ้มะนาว พอกบริเวณที่บวม
รักษาแผลสดและแผลเปื่อย  ใช้ใบพริกขี้หนู ตำพอกรักษาแผล  
     สดและแผลเปื่อย(อย่าใช้พริกขี้หนูปิดแผลมากเกินไปเพราะจะทำให้ร้อน
- ใบ้ใบเป็นอาหาร  ใบพริกขี้หนูมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมี ธาตุ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไวาตามินเอ และบีอยู่มาก บำรุงกระดูก
     บำรุง ประสาท
แก้พิษตะขาบและแมลงป่องกัด  ใช้พริกขี้หนููแห้ง ตำผงละลาย น้ำมาะนาว ทาแผลตะขาบกัด แมลงป่องต่อย หายเจ็บปวดดีนัก
มดคันไฟกัด   ใช้ใบหรือดอกพริกขี้หนูก้ได้ ถูบริเวณถูกกัด หายแล

**รักษาอาการบวม ฟกช้ำ ให้ใช้พริกขี้หนูที่แก่จัดเป็นสีแดงแล้วตากแห้งนำมาบดเป็นผงให้ละเอียดแล้วเทลงในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลว
    กวนให้เข้ากัน แล้วนำไปเคี่ยวอีกจนได้กลิ่นพริก ใช้สำหรับทาถู รักษาอาการเคล็ด ถูกชน ฟกช้ำดำเขียว และอาการปวดตามข้อ
    ให้ทาตรงบริเวณที่เป็นวันละครั้ง หรือสองวันต่อครั้ง

** รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง ให้ใช้ผงพริกขี้หนูและวาสลิน หรือผลพริก วาสลิน และแป้งหมี เติมเหล้าเหลืองจำนวนพอประมาณ 
 แล้วคนให้เป็นครีม ก่อนที่จะใช้ ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด ใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบ จะมีอาการทำให้เหงื่อออก
การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น และรู้สึกหายปวด จากการตรวจสอบพบว่า ตามบริเวณที่พอกยาจะมีความรู้สึกร้อน  และการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มขึ้น


ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
- สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือด ตามบริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น
    ถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทำให้ระคายเคืองได้

 - ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคปซายซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ
    Bacillus aureus และเชื้อ Bacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก โดยวิธีการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง

- ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร แคปซายซิน ทำให้เจริญอาหาร และกินอาหารได้มากขึ้น พริกสามารถช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหว
    ของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ำสกัดที่ได้จากพริก จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum
   ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีนได้ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มการบีบตัว ของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา
    แต่ถ้าให้แคปซายซินซ้ำอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลย

 **ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคปซายซิน ที่สกัดจากพริก สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนูตะเภา
    แต่เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของแมวและสุนัข จะทำให้ความดันโลหิต และหัวใจเต้นช้า หายใจขัด และอาการพวกนี้จะหายไป
    เมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มความดันโลหิตในแมว ที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat)
    ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของแมวที่ถูกวางยาสลบ จะทำให้ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น  แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทำให้หลอดเลือดนั้นหดตัว และฤทธิ์ของแคปซายซินต่อหัวใจ ห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็ว และความแรงในการเต้น

 **ฤทธิ์อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ จะทำให้สารกลุ่มคอรืติโซน  ในพลาสมาเพิ่มขึ้น และปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้เดินเซ เล็กน้อย และชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาว และมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น