วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

มะหวด


มะหวด

มะหวด วงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisanthes rubiginosaชื่ออื่น กะซ่ำ มะหวด (ภาคกลาง) กำจำ (ภาคใต้) นำซำ มะจำ (ภาคใต้) หวดคา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สีฮอกน้อย (ภาคเหนือ)


มะหวด หรือ LEPISANTHES RUBIGINO-SA (ROXB.) LEENH อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบประกอบขนนก ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ดอก เป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีขาว "ผล" รูปไข่ สุกเป็นสีม่วงดำ ขนาดผลเล็กกว่าลูกหว้า มี 1 เมล็ด รสชาติหวานปนฝาด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มี 2 ชนิด คือ ชนิดใบรียาว กับชนิดใบรีป้อม



ไม้ต้นนี้ พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย ในอดีตตอนขึ้นเขาเข้าป่าจะพบเห็นมากมายจนชินตาพอๆกับต้นหว้า โดยเฉพาะในช่วงติดผลเป็นพวง ผลสุกเป็นสีม่วงเกือบดำดูสวยงามมาก รสชาติหวานปนฝาดเล็กน้อยอร่อยดี คนเดินป่านิยมเก็บเอาผลแบบหักทั้งกิ่งใส่ตะกร้าไปวางขายในตลาดตัวเมือง มีผู้ซื้อไปรับประทานอย่างกว้างขวาง และยังชอบปลูกไว้ตามหัวไร่ ปลายนา เนื่องจากต้น "มะหวด" มีอายุยืนยาว ลำต้นแข็งแรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างใบดก และหนาทึบให้ร่มเงาดี ชาวนานิยมนำเอาควายที่เลี้ยงไว้ไถนาไปผูกใต้โคนต้น "มะหวด"ให้เดินเล็มหญ้าเย็นสบายดี  



มะหวด นอกจากจะมีผลกินได้และให้ร่มเงาดีแล้ว บางส่วนของต้นยังสามารถเอาไปใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคได้หลายอย่างอีกด้วย โดย ในตำรายาแผนไทยโบราณระบุว่า ราก ของ "มะหวด" เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษฝีภายใน (ต้มดื่ม) ตำพอกศีรษะแก้ไข้ ปวดศีรษะ และพอกรักษาโรคผิวหนังผื่นคัน เมล็ดกินแก้โรคไอหอบ ไข้ซางเด็ก ไอกรน ผลบำรุงกำลัง ราก นำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นต้มน้ำดื่มแก้ซาง (โรคของเด็กเล็ก มีอาการเบื่ออาหาร ซึม มีเม็ดขึ้นในปาก และคอ ลิ้นเป็นฝ้า) ตำรายาพื้นบ้านใช้ใบรองพื้น และคลุมข้าวสำหรับทำขนมจีนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบูดหรือเสียได้ 

ที่มา :  http://navithaifruit.blogspot.com/2010/10/blog-post_3867.html
           http://www.infoforthai.com/forum/topic/4906



 http://www.touristcheckin.com

 http://www.prakunrod.com/default.aspx?aid=8448
 http://www.azaythai.com/064
http://www.thaibestjobs.com/affiliate/1375


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น